คำแนะนำผู้เขียน
การส่งบทความต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์
ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นวารสารด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่บทความ ที่จะได้รับการเผยแพร่ต้องได้รับการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ในสาขาวิชานั้นๆ อย่างน้อย 3 ท่านต่อ 1 บทความในรูปแบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และ ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review) โดยบทความวิจัยที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสม โดยเนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารฯ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือนักวิจัยผู้เขียนบทความ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์กองบรรณาธิการฯ | ||
วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร |
||
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นวารสารกลุ่ม สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความวิชาการ (review article) และบทความวิจัย (research article) ของทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีประสบการณ์หรือมุมมองทางด้านงานวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์แบบบูรณาการที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาสังคมและประเทศชาติอย่างกว้างขวาง โดยบทความดังกล่าวต้องนำเสนอองค์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้า การวิจัยที่ลุ่มลึก และไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาก่อน |
||
กำหนดพิมพ์เผยแพร่ |
||
วารสารมีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ | ||
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน | ||
ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม | ||
ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม | ||
ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) เวอร์ชั่น 2010 ขึ้นไป หน้ากระดาษ A4 ความยาวไม่เกิน 8-10 หน้ากระดาษ รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง ด้านบนและด้านในเว้นห่างจากขอบกระดาษ 2.7 เซนติเมตร ด้านล่างและด้านนอกเว้นห่างจากขอบกระดาษ 1.5 เซนติเมตร มีเลขหน้ากำกับทุกหน้า ที่ด้านบนขวาของเอกสาร บทความต้องมีลักษณะดังนี้
- ชื่อเรื่องภาษาไทย พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ตัวหนาขนาด 20 pt จัดกลางหน้า
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 20 pt จัดกลางหน้า
- ชื่อผู้เขียนภาษาไทย พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 16 pt จัดกลางหน้า เว้นห่างจากชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ 1 บรรทัด
- ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 16 pt จัดกลางหน้า เว้นห่างจากผู้เขียนภาษาไทย 1 บรรทัด
- หน่วยงาน สถานที่ทำงาน หรืออีเมล์ของผู้เขียนพิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 16 pt จัดกลางหน้า
- บทคัดย่อ พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวหนา ขนาด 16 pt เนื้อหาในบทคัดย่อ พิมพ์ด้วยTH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 pt ความยาวไม่เกิน 300 คำ ซึ่งควรประกอบด้วยรายละเอียดโดยสรุปของวัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัยและผลของการวิจัยเป็นต้น
คำสำคัญ 3-5 คำ พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 pt ไม่ต้องคั่นด้วยเครื่องหมาย comma โดยเว้นห่างจากบทคัดย่อ 1 บรรทัด
- Abstract พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวหนา ขนาด 16 pt เนื้อหาใน Abstract พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 pt ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับบทคัดย่อและการเขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ด้านภาษา
Keywords มี 3-5 คำ พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 pt เว้นห่างจาก abstract 1 บรรทัด
- บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เรียงลำดับเหมือนกันดังนี้ คือ ชื่อเรื่อง, ชื่อผู้เขียน, หน่วยงาน, บทคัดย่อ, คำสำคัญ, Abstract และ Keywords จากนั้นจึงตามด้วยเนื้อเรื่อง
- เนื้อเรื่องภาษาไทย พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 pt จัดกระจายแบบไทย และจัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์
- เนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 pt จัดกระจายแบบไทย และจัดเป็นแบบคอลัมน์ 1 คอลัมน์
- ตารางและภาพประกอบ
ตาราง
ให้ระบุชื่อตารางที่กระชับและสื่อถึงเนื้อหาในตารางโดยพิมพ์เหนือตาราง (ชิดซ้าย) และเรียงลำดับตารางด้วยตัวเลขอารบิคจากน้อยไปมากตามลำดับ (ตารางที่ 1 ตารางที่ 2, Table 1, Table 2) ซึ่งในตารางอาจใช้ตัวย่อได้แต่ต้องอธิบายเพิ่มเติมใต้ตารางแบบเชิงอรรถ (footnote) ให้ชัดเจน หากจำเป็นต้องระบุที่มาของตารางให้ระบุในรูปแบบของการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (ดูหลักการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา)
ภาพประกอบ
ให้ระบุชื่อภาพประกอบให้ระบุที่มาไว้ใต้รูปภาพ (จัดกลาง) กรณีที่มีรูปภาพหลายภาพ ให้ระบุลำดับของรูปภาพ (รูปที่ 1 รูปที่ 2, Figure 1 , Figure 2) หากจำเป็นต้องระบุที่มาของรูปภาพให้ระบุในรูปแบบของการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (ดูหลักการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา) และหากเป็นรูปภาพที่ผู้เขียนจัดทำหรือถ่ายรูปนั้นเองให้ระบุหลังจากชื่อภาพหรือคำอธิบายใต้ภาพด้วยข้อความดังนี้ “(ภาพถ่ายโดยผู้วิจัย)” แนบไฟล์ภาพประกอบที่ใช้ในบทความโดยบันทึกแต่ละไฟล์ในรูปแบบ .JPG หรือ .PNG หรือ .PDF ภาพต้องคมชัดและมีขนาดที่สามารถเห็นรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน
- เอกสารอ้างอิง ให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของรายการที่อ้างอิง โดยยึดวิธีการเรียงตามพจนานุกรม และใช้วิธีการอ้างอิงรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver)
เอกสารอ้างอิงทุกฉบับต้องมีการอ้างหรือถูกกล่าวในบทความ การเขียนเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบแวนคูเวอร์โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง
เมื่อสิ้นสุดข้อความที่ต้องการอ้างอิง ใส่หมายเลขอ้างอิงไว้ในวงเล็บใหญ่ โดยใช้เลขอารบิค เช่น [1] หรือ [1, 5] หรือ [1-3]
2. การอ้างอิงท้ายบทความ
2.1 วารสาร
ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร ปีที่พิมพ์; เล่มที่:หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. เช่น
[1] นวลจันทร์ วันเพ็ญผ่อง. การบูรณาการข้อมูลประชากร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2554;3:20-29.
[2] จิราภรณ์ จันทร์จร. การใช้โประแกรม EndNote: จัดการเอกสารอ้างอิงทางการแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551; 52:241-53.
[3] Kane RA, Kane RL. Effect of genetic for risk of Alzheimer’s disease. N Engl J Med 2009;361:298-9.
หากเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียวของชื่อตัวและชื่อรอง กรณีมีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียง 6 คนแรก และคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (comma-,) แล้วตามด้วย et al. (ในภาษาอังกฤษ) หรือ และคณะ (ในภาษาไทย).
[1] Mitchell SL, Teno JM, Kiely DK, Shaffer ML, Jone RN, Prigerson HG, et al. The clinical course of advanced dementia. N Engl J Med 2009; 361:1529-38.
[2] จริยา เลิศอรรฆยมณี, เอมอร รักษมณี, อนุพันธ์ ตันติวงศ์, กรุณา บุญสุข, อิงอร นิลประดับ, พุฒฑิพรรณี วรกิจโภคาทร, และคณะ. ความเสี่ยงและประสิทธิผลของการผ่าตัดต่อมลูกหมาก. จดหมายเหตุทางแพทย์ 2545;85:1288-95.
2.2 วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง [ประเภท/ระดับปริญญา). เมืองที่พิมพ์: มหาวิทยาลัย; ปีที่ได้ปริญญา. เช่น
[1] เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. การวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
[2] Kaplan SJ. Post-hospital home health care: the elderly’s access and utilization [dissertation]. St. Louis, MO: Washington University; 1995.
2.3 หนังสือ
ชื่อผู้เขียน. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. เช่น
[1] น้ำทิพย์ วิภาวิน และนงเยาว์ เปรมกมลเนตร. นวัตกรรมห้องสมุดและการจัดการความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอที โซลูชั่น; 2551.
[2] Janeway CA, Travers P, Walport M, Shlomchick M. Immunobiology. 5th ed. New York: Garland Publishing; 2001.
หนังสือที่ผู้แต่งเป็นบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม
[3] ภานุมาศ ทักษณา, บรรณาธิการ. รอยยิ้มของในหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์; 2553.
[4] Norman IJ, Redfern SJ, editors. Mental health care for elderly people. New York: Churchill Livingstone; 1996.
2.4 อินเทอร์เน็ต
ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. [ประเภทของสื่อ/วัสดุ]. ปีที่พิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ ปี เดือน วันที่]. เข้าถึงได้จาก URL address เช่น
[1] จิราภรณ์ จันทรจร. การเขียนรายงานการอ้างอิงในเอกสารวิชาการทางการแพทย์. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551[เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2554]. เข้าถึงได้จาก: http://lib.med.psu.ac.th/libmed2557/images/Libservice/van1nov1.pdf
[2] Greenly W, Sandeman-Craik C, Otero Y, and Streit J. Case Study: Contextual Search for Volkswagen and the Automotive Industry. [Internet]. 2011 [cited 2011 November 22]. Available from:http://www.w3.org/2001/sw/sweo/public/UseCases/Volkswagen/
ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม;วัน เดือน ปีที่ประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์: ปีที่พิมพ์. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
[1] ฐิติพรรณ บรรลือทรัพย์, ปัญญา ทองนิล, กาญจนา บุญส่ง. การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ท่าเรือน้ำลึกทวายกับเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อการเปลี่ยนแปลงกาญจนบุรี; 7 กันยายน 2561; มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. จังหวัดกาญจนบุรี: 2561. 220-231.
การส่งต้นฉบับ |
||
ส่ง “ไฟล์ต้นฉบับ” พร้อมทั้ง “แบบฟอร์มการส่งต้นฉบับเพื่อพิจารนำลงวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี” ผ่านทางระบบ THAIJO 2.0 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี E-mail: acad@mail.pbru.ac.th |
||
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม |
||
กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี หรือ E-mail: acad@mail.pbru.ac.th |
||
Download คำแนะนำผู้เขียน
|
||